วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดีด (ซึง)


ซึง

ซึ่ง
ซึงเป็นเครื่องดนตรีประเภท ดีด มี4 สาย แต่แบ่งออกเป็น2เส้น เส้นละ2สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ
แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง(ซึงที่มีขนาดใหญ่)
แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก3 และซึงลูก4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน)
อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปาก ว่าเป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และสะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง,การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม
ภาพแสดงลักษณะการเล่น ซึง 
ส่วนประกอบของ ซึง

  1. โรงเสียง (อ่าน “โฮงเสียง”) คือ ต้นกำเนิดเสียงซึ่งมีลักษณะเป็นไม้กลวงข้างใน นิยมใช้ไม้เนื้ออ่อน หรือไม้สักทั้งท่อนทำ  เพราะอาจขูดเนื้อไม้ทำเป็นกล่องเสียงได้ง่าย โดยคว้านข้างในให้กลวงเป็นรูปวงรี เหลือขอบโดยรอบกับพื้นกล่องเสียงซึ่ง ไม่หนามากนัก ความหนาของกล่องเสียงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ที่จะใช้ทำ  และขนาดของซึงที่ต้องการ เท่าที่พบโดยทั่วไปหนาประมาณ 2 - 3 นิ้ว
  2. ตาดซึง คือ แผ่นไม้บางปิดหน้าโรงเสียง เจาะรูกว้างพอประมาณบริเวณใกล้ศูนย์กลางค่อนไปทางคอเล็กน้อย เพื่อเป็นทางออกของเสียง 
  3. ฅอซึง มี ลักษณะเป็นคันยาวยื่นต่อจากตัวกล่องเสียง อาจเป็นไม้ท่อนเดียวกันกับที่ใช้ทำกล่องเสียง หรือทำแยกส่วนเป็นคนละชิ้นก็ได้ ถ้าไม่ได้ใช้ชิ้นเดียวกันกับที่ทำตัวกล่องเสียงแล้ว ส่วนนี้ จะนิยมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เพื่อให้ทนทานและเสียงที่ดังออกมาไพเราะ
  4. ลูกซึง เป็นแท่งไม้เล็ก ๆ ติดเป็นระยะ ๆ ภาคกลางเรียน “นม” ภาษาสากลเรียก Bar ลูกซึงนี้เป็นตำแหน่งสำหรับกดบังคับเสียงตามบันไดทางเสียง ติดเป็นระยะเรียงตามความยาวของคอซึง จนใกล้ถึงตัวกล่องเสียง จำนวนลูกซึ่งไม่แน่นอน แต่มาตรฐานทั่วไปนิยม ติด 9 อัน โดยจัดเว้นระยะตามบันไดเสียงที่ได้
  5. สายซึง เป็นเส้นทองเหลือง ซึ่งแต่เดิมนั้น นิยมใช้สายห้ามล้อจักรยานมาทำ ปัจจุบันอาจพบว่ามีการนำสายกีตาร์มาใช้แทน ซึงมี 4 สาย แยกกันเป็น 2 คู่ (เวลาดีดจะดีดทีละคู่) ขึงจาก ค๊อบ (อ่าน “ก๊อบ”) รองสายโดยขึงผ่านกลางกล่องเสียงไปยังลูกบิด การดีดมักใช้เขาสัตว์หรือพลาสติกทำเป็นชิ้นบาง  และขนาดไม่ใหญ่นักสำหรับดีดสายซึง โดยดีดตรงบริเวณที่สายขึงอยู่ใกล้กับรูที่เจาะไว้ มืออีกข้างหนึ่งจับคอซึงและใช้นิ้วกดสายลงให้แนบกับลูกซึง เพื่อให้เกิดเสียงตามที่ต้องการ
  6. ค็อบซึง (อ่าน “ก๊อบซึง”) คือ หย่องที่เป็นไม้หมอนซึ่งเป็นไม้ท่อนเล็ก อยู่ระหว่างช่องระบายเสียงกับส่วนที่อยู่เกือบล่างสุดของขอบตัวกล่องเสียง
  7. หลักซึง คือ ลูกบิดสำหรับตั้งหรือบังคับสายซึงให้ตึงหรือหย่อน เพื่อใให้ได้เสียงตามต้องการ  
  8. หัวซึง  คือ ส่วนปลายสุดของซึง
VDO แสดงการสาธิตการเล่นซึง
ขอขอบคุณ youtube.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น