วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดีด



จะเข้

 เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น เราจะรวมเรียกว่าเครื่องดีด

ในปัจจุบันเราสามารถ พบเครี่องดนตรีที่เป็นเครื่องดีดได้อย่างหลากหลาย แต่ในเครื่องดีดที่เป็นที่รู้จัก หรือ โดดเด่น ได้แก่   พิณ  กระจับปี่  จะเข้
พิณ

กระจับปี่
  










พิณ

พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดชนิดหนึ่ง

พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดแบบหนึ่ง มีหลายชนิดแตกต่างตามท้องที่ ในภาคอีสานของประเทศไทย พิณอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ซุง" หรือ "เต่ง" จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 หรือ 4 สาย บรรเลงโดยการดีดด้วยวัสดุทีเป็นแผ่นบาง เช่นไม้ไผ่เหลา หรืออาจใช้ปิ้กกีตาร์ดีดก็ได้ สมัยก่อนจะเล่นเครื่องเดียวเพื่อเกี้ยวสาว ปัจจุบันมักใช้บรรเลงในวงดนตรีโปงลาง วงดนตรีลำซิ่ง หรือวงดนตรีลูกทุ่ง
พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน



VDO นี้เป็นการแสดงตัวอย่างและวิธีการเล่นพิณอย่างง่าย
ขอขอบคุณ youtube.com

 
องค์ประกอบต่างของ พิณ
  
๑ เต้าพิณ
กรณีเป็นพิณโปร่ง เต้าพิณคือส่วนที่เป็นโพรง ซึ่งเป็นส่วนที่จะขยายสัญญาณเสียงให้ดังขึ้นนั่นเอง ประกอบจากไม้สองส่วนคือ ส่วนที่เจาะเป็นโพรงหรือตัวเต้า และส่วนที่เป็นแผ่นประกบปิด 
 ๒ คอพิณ
คอพิณ คือส่วนที่ต่อออกมาจากตัวเต้าพิณ โตประมาณพอกำได้ ยาวประมาณ ๒ ฟุต หรือประมาณหนึ่งช่วงแขน โดยด้านโคน ต่อเข้ากับตัวเต้าพิณ ส่วนด้านปลาย เป็นส่วนที่ติดลูกบิดขึ้นสายพิณ และต่อหัวพิณเข้าไป(กรณีแยกหัวไว้ต่างหาก)
ไม้ที่ทำคอพิณ ต้องแข็ง ซึ่งโดยมาก หากตัวเต้าเป็นไม้ มักจะใช้ไม้ชนิดเดียวกันกับตัวเต้าพิณนั่นเอง แต่หากตัวเต้าเป็นกะลา น้ำเต้า หรือกระดองเต่า ก็จะเลือกใช้ไม้คอพิณต่างหาก
ด้านปลายคอพิณ เซาะร่อง และเจาะรูสำหรับติดลูกบิด และปลายสุด อาจเจาะรูสำหรับนำหัวพิณมาต่อ หรือทำเป็นหัวพิณเลยก็ได้
๓ หัวพิณ
     หัวพิณ คือส่วนที่ต่อจากคอพิณไป เป็นส่วนประกอบเพื่อให้พิณสมบูรณ์สวยงาม สมัยก่อน มักทำพิณด้วยไม้ท่อนเดียว หัวพิณจึงติดกับคอพิณเลยแต่ปัจจุบัน ไม้หายากขึ้น จึงแยกหัวพิณออกเป็นส่วนต่างหาก และนำมาประกบเข้ากับปลายคอพิณทีหลัง ซึ่งหัวพิณ นิยมทำเป็นรูปหัวพญานาค แต่ช่างพิณบางคน ทำเป็นรูปหัวหงส์ก็มี
๔ ขั้นแบ่งเสียง
     คือตัวแบ่งสเกลระดับเสียง หรือตัวแบ่งโน้ต ทำจากซี่ไม้ไผ่แบน ๆ นำมาติดเข้ากับคอพิณ หันด้านติวไม้ขึ้นรองรับสาย สมัยก่อน ติดขั้นพิณด้วยขี้สูด แต่ปัจจุบันใช้กาวติด นอกจากนั้น ปัจจุบัน นิยมทำขั้นพิณโดยใช้แท่งโลหะเล็กๆ เช่นลวด เป็นต้น
๕ หย่อง
     คือตัวควบคุมคีย์ของสายพิณขณะดีดสายเปล่า ซึ่งมีสองตัวคือ หย่องหน้าหรือหย่องเต้าพิณ ติดอยู่ที่ด้านหน้าเต้าพิณ และหย่องท้ายหรือหย่องด้านหัวพิณ จะติดด้านปลายคอพิณ ถัดจากขั้นพิณอันสุดท้าย พูดง่ายๆ หย่อง จะติดครอบขั้นพิณทั้งหมดเอาไว้ ตัวหย่องทำจากไม้เนื้อแข็ง บากร่องสำหรับพาดสายตามจำนวนสายพิณ
๖ ลูกบิดขึ้นสาย
     เป็นตัวยึดสายพิณ และปรับระดับคีย์ของสายพิณแต่ละสาย โดยติดเข้าด้านปลายของคอพิณ สมัยก่อน ทำจากไม้เนื้อแข็งเหลาเป็นแท่งกลมด้านปลายสอบเล็กลง ปัจจุบัน มีการนำเอาลูกบิดขึ้นสายของกีตาร์ มาใช้แทน เพราะสะดวกในการขึ้นสาย และปรับแต่งเสียงมากกว่า
๗ สายพิณ
     สมัยก่อน เนื่องจากสายกีตาร์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จึงนิยมใช้สายเบรกรถจักรยาน มาทำเป็นสายพิณ แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์ เพราะหาง่าย ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า โดยพิณโปร่ง ใช้สายกีตาร์โปร่ง พิณไฟฟ้า ใช้สายกีตาร์ไฟฟ้า
     สายพิณโปร่ง ควรใช้สายกีตาร์โปร่ง เพราะสายแข็งกว่า ให้เสียงดังกว่า และไม่ค่อยเป็นสนิม
๘ ปิ๊ก
     ปิ๊กหรือที่ดีดสายพิณ สมัยก่อน ทำจากเขาควาย หรือหากไม่มีเขาควายก็ใช้ไม้เนื้อแข็ง เหลาให้บาง ด้านปลายแหลมมน ต่อมา ก็ใช้ขวดพลาติก เช่นแกลลอนน้ำมัน เป็นต้น แทน ปัจจุบัน เมื่อพัฒนามาใช้สายกีตาร์แทน ก็เลยใช้ปิ๊กกีตาร์ไปด้วย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น