วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร"
นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง
ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว แม้ในการประกวดการประดิษฐ์ทางรับ คือการนำเพลงที่ไม่เคยรู้จักมาร้องให้ ปี่พาทย์รับ ท่านก็สามารถนำวงรอดได้ทุกครา

ผลงานเด่นๆ ของท่านมีมากมาย ได้แก่ - ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"    เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.6
- ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว - พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ  พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง"   "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
- คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
- นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
- สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น   เพลงไทยหลายเพลง
- ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย

เรียบเรียงข้อมูลจาก http://www.oocities.com/teerayut_t/jangvangsorn.htm และ http://mitethai.tripod.com/artist.htm

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)

พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)



ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว
นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย"
ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้
ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49ปี 

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

พระประดิษฐ์ไพเราะ ( มี ดุริยางกูร )

พระประดิษฐ์ไพเราะ ( มี ดุริยางกูร )
  
สันนิษฐานว่าเกิด ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 1
คนทั่วไปมักเรียกว่า ครูมีแขก
 
ประวัติ
เมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ (ท่านเกิดแถวบริเวณสุเหร่า  เหนือวัดอรุณราชวราราม) ท่านมีสิ่งขาวๆคล้ายกระเพาะครอบศีรษะออกมาด้วย ดูเหมือนกับหมวกแขก จึงได้รับสมญานามว่า "แขก" ตั้งแต่เล็ก(แต่บางท่านก็ว่าครูมีผู้นี้มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายแขกจึงได้ชื่อว่าครูมีแขก เช่นกัน) 
สมัย ร.4 เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย์ ขึ้นเล่นประชันวงกัน  ครูมีได้เป็นครูปี่พาทย์ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระประดิษฐ์ไพเราะ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
สมัย ร.5 ท่านได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
   
ผลงาน 
ท่านเป็นต้นตำรับการแต่งเพลง ที่มีลูกล้อลูกขัด หรือประเภทเพลงทยอย  ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก 
      • ประเภทเพลงสองชั้น เช่น เพลงเชิดจีน (พ.ศ. 2396)
        เพลงจีนแส เพลงอาเฮีย  เพลงชมสวนสวรรค์ เพลงแป๊ะ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
      • ประเภทเพลงสามชั้น เช่น เพลงทยอยนอก เพลงทยอยเขมร เพลงจีนขิมเล็กเพลงจีนขิมใหญ่ เพลงแขกมอญ กำสรวลสุรางค์
      • ประเภทเพลงเถา เช่น เพลงแขกบรเทศเถา เพลงตวงพระธาตุเถา
      • ประเภทเพลงโหมโรง เช่น โหมโรงขวัญเมือง เป็นต้น
ถึงแก่กรรม 
ในสมัยรัชกาลที่  5 ประมาณ ระหว่าง  พ.ศ. 2417-2421


ที่มา  http://tcmc.nisit.kps.ku.ac.th/tcmc/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=70&mode=thread&order=0&thold=0

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วงมโหรี

วงมโหรี

วงมโหรี เป็นวงที่เกิดจากการผสมกัน ระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ตัดเครื่องดนตรีทีมีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า แบ่งตามขนาด ดังนี้


1.วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ระนาดเอกมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรี จะเข้ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง

2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลีบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง

3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ซอสามสาย 2 คัน
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง


วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย

 หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
และกำกับจังหวะประกอบ มีหลายขนาด ดังนี้


1.วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย จะเข้ ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง

2. วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 คัน ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ โทน กรับ รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง

3.วงเครื่องสายผสม คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา และนำเครื่องดนตรีอื่นมาผสม เช่น "วงเครื่องสายขิม" จะนำขิมมาบรรเลงร่วม

4.วงเครื่องสายปี่ชวา คือ ปรับปรุงมาจาก " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ใช้ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ อ้อ ปี่ชวา
กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ ต่อมาเปลี่ยนขลุ่ยหลิบมาแทนปี่อ้อ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " เครื่องสายปี่ชวา "


วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์ 

หมายถึง วงที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีหลายรูปแบบดังนี้




1. วงปี่พาทย์ชาตรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก " ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา " เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร ใช้เครื่องดนตรี ดังนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง

2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไป
เช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้
  • วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด 
  • วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง
  • งปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องดนตรี ที่ใช้ ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ กลองตะโพน ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ( ระนาด ใช้ไม้นวมตี)

4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้ประกอบละครดึกบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพนกลอง ตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

5. วงปี่พาทย์มอญ เดิมเป็นของมอญ ใช้ทั้งงานมงคลและอวมงคล แต่ปัจจุบันจะใช้บรรเลงเฉพาะงานศพเท่านั้น มีขนาดต่างกันดังนี้.
  • วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ระนาดเอก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง
  •  วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ
  •  วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ
6. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลง ใน งานศพเท่านั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง


วงดนตรีไทย

วงดนตรีไทยที่บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน
แบ่งโดยสังเขปมีอยู่ 3 ประเภท
  • วงปี่พาทย์ 
  • วงเครื่องสาย
  • วงมโหรี
หากแบ่งโดยพิสดารจะมี 7 ปะเภท คือ
1.วงบรรเลงพิณ, 2.วงขับไม้, 3.วงปี่พาทย์, 4.วงมโหรี, 5.วงเครื่องสาย, 6.วงปี่กลองมลายูและวงปี่กลองแขก
7.วงเบตล็ดอื่นๆ เช่น วงแคน , วงกลองยาว, วงแตรวง, วงฮังกะลุง, และวงดนตรีพื้นเมืองอีกมากมาย.
วงพิเศษ คือวงที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ในงานสำคัญ ใชับรรเลงในงานนั้นเพียงครั้งเดียว มี 1 วง คือ วงมหาดุริยางค์