วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องตี(ฆ้อง)

ฆ้อง

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหลายขนาดและประเภท บางชนิดเป็นเพียงเครื่องตีให้สัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเข้าเวรยาม, ฆ้องชัย ใช้ตีบอกสัญญาณในกองทัพสมัยโบราณ เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า โหม่ง

ฆ้องโหม่ง   
เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยโลหะหรือเรียกว่าโหม่งก็ได้ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ รองลงมาจากฆ้องหุ่ย ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี

ฆ้องเหม่ง มีรูปร่างเหมือนกับฆ้องโหม่ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้ตีกำกับจังหวะ ขนาดเล็กกว่า ฆ้องโหม่ง ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี
ฆ้องคู่   เป็นฆ้องที่มี 2ใบมีขนาดเล็ก เสียงต่ำใบหนึ่ง เสียงสูงใบหนึ่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ ชุดหนึ่งมีสองลูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ ลูกเล็กให้เสียงสูง ไม้ตีทำด้วย แผ่นหนังวัว หรื ใบหนังควายตัดเป็นวงกลม เจาะรูตรงกลางใส่ก้านไม้
ฆ้องมโหรี    เป็นฆ้องวงที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีโดยเฉพาะ มีอยู่สองขนาด คือฆ้องวงใหญ่มโหรีและฆ้องวงเล็กมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรีเดิมมีลูกฆ้อง ๑๗ ลูก ต่อมานิยมใช้ ๑๘  ลูก
ฆ้องมอญ เป็นเครื่องดนตรีของชาวรามัญ มีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบกับพื้นเหมือนกับฆ้องวงใหญ่
ฆ้องราง   
เป็นฆ้องที่มีลักษณะเหมือนฆ้องคู่ ใช้ตีดำเนินทำนอง ชุดหนึ่งมี ๗-๘ ลูก เสียงลูกที่ ๑ กับลูกที่ ๘ เป็นเสียงเดียวกัน แต่ต่างระดับเสียง ปัจจุบันไม่มีการใช้ในวงดนตรีไทย
ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราง จนกระทั่งเป็นฆ้องวง สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะของฆ้องวงประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง
ฆ้องวงเล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรเลงคู่กับฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็กมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับฆ้องวงใหญ่
ฆ้องราว เป็นฆ้อง 3 ใบมีขนาดลดหลั่นกันใช้แขวนราวเรียง ไปตามขนาด เมื่อตีเรียงไปตามลำดับลูกแล้วย้อนกลับไปจะได้ยินเป็นเสียง "โหม่ง-โมง-โม้ง , โม้ง-โมง-โหม่ง" แต่แรกคิดจะสร้างใช้ในการใดหาทราบไม่ แต่ตามที่ปรากฎต่อมาใช้บรรเลงในการเล่นมหรสพโบราณชนิดหนึ่งเรียกว่า "ระเบง" หรือเรียกตามคำร้องของกลอน ซึ่งขึ้นต้นวรรคด้วย คำว่า "โอ้ละพ่อ" เลยเรียกฆ้องราว 3 ใบชนิดนี้ว่า "ฆ้องระเบง" ติดมา

ภาพแสดงการเล่นฆ้องวง

 
VDO แสดงการสาธิตการเล่นฆ้องวง
ขอขอบคุณ youtube.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น