วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

พระประดิษฐ์ไพเราะ ( มี ดุริยางกูร )

พระประดิษฐ์ไพเราะ ( มี ดุริยางกูร )
  
สันนิษฐานว่าเกิด ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 1
คนทั่วไปมักเรียกว่า ครูมีแขก
 
ประวัติ
เมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ (ท่านเกิดแถวบริเวณสุเหร่า  เหนือวัดอรุณราชวราราม) ท่านมีสิ่งขาวๆคล้ายกระเพาะครอบศีรษะออกมาด้วย ดูเหมือนกับหมวกแขก จึงได้รับสมญานามว่า "แขก" ตั้งแต่เล็ก(แต่บางท่านก็ว่าครูมีผู้นี้มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายแขกจึงได้ชื่อว่าครูมีแขก เช่นกัน) 
สมัย ร.4 เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย์ ขึ้นเล่นประชันวงกัน  ครูมีได้เป็นครูปี่พาทย์ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระประดิษฐ์ไพเราะ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
สมัย ร.5 ท่านได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
   
ผลงาน 
ท่านเป็นต้นตำรับการแต่งเพลง ที่มีลูกล้อลูกขัด หรือประเภทเพลงทยอย  ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก 
      • ประเภทเพลงสองชั้น เช่น เพลงเชิดจีน (พ.ศ. 2396)
        เพลงจีนแส เพลงอาเฮีย  เพลงชมสวนสวรรค์ เพลงแป๊ะ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
      • ประเภทเพลงสามชั้น เช่น เพลงทยอยนอก เพลงทยอยเขมร เพลงจีนขิมเล็กเพลงจีนขิมใหญ่ เพลงแขกมอญ กำสรวลสุรางค์
      • ประเภทเพลงเถา เช่น เพลงแขกบรเทศเถา เพลงตวงพระธาตุเถา
      • ประเภทเพลงโหมโรง เช่น โหมโรงขวัญเมือง เป็นต้น
ถึงแก่กรรม 
ในสมัยรัชกาลที่  5 ประมาณ ระหว่าง  พ.ศ. 2417-2421


ที่มา  http://tcmc.nisit.kps.ku.ac.th/tcmc/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=70&mode=thread&order=0&thold=0

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วงมโหรี

วงมโหรี

วงมโหรี เป็นวงที่เกิดจากการผสมกัน ระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ตัดเครื่องดนตรีทีมีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า แบ่งตามขนาด ดังนี้


1.วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ระนาดเอกมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรี จะเข้ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง

2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลีบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง

3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ซอสามสาย 2 คัน
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง


วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย

 หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
และกำกับจังหวะประกอบ มีหลายขนาด ดังนี้


1.วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย จะเข้ ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง

2. วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 คัน ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ โทน กรับ รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง

3.วงเครื่องสายผสม คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา และนำเครื่องดนตรีอื่นมาผสม เช่น "วงเครื่องสายขิม" จะนำขิมมาบรรเลงร่วม

4.วงเครื่องสายปี่ชวา คือ ปรับปรุงมาจาก " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ใช้ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ อ้อ ปี่ชวา
กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ ต่อมาเปลี่ยนขลุ่ยหลิบมาแทนปี่อ้อ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " เครื่องสายปี่ชวา "


วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์ 

หมายถึง วงที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีหลายรูปแบบดังนี้




1. วงปี่พาทย์ชาตรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก " ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา " เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร ใช้เครื่องดนตรี ดังนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง

2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไป
เช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้
  • วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด 
  • วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง
  • งปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องดนตรี ที่ใช้ ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ กลองตะโพน ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ( ระนาด ใช้ไม้นวมตี)

4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้ประกอบละครดึกบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพนกลอง ตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

5. วงปี่พาทย์มอญ เดิมเป็นของมอญ ใช้ทั้งงานมงคลและอวมงคล แต่ปัจจุบันจะใช้บรรเลงเฉพาะงานศพเท่านั้น มีขนาดต่างกันดังนี้.
  • วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ระนาดเอก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง
  •  วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ
  •  วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ
6. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลง ใน งานศพเท่านั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง


วงดนตรีไทย

วงดนตรีไทยที่บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน
แบ่งโดยสังเขปมีอยู่ 3 ประเภท
  • วงปี่พาทย์ 
  • วงเครื่องสาย
  • วงมโหรี
หากแบ่งโดยพิสดารจะมี 7 ปะเภท คือ
1.วงบรรเลงพิณ, 2.วงขับไม้, 3.วงปี่พาทย์, 4.วงมโหรี, 5.วงเครื่องสาย, 6.วงปี่กลองมลายูและวงปี่กลองแขก
7.วงเบตล็ดอื่นๆ เช่น วงแคน , วงกลองยาว, วงแตรวง, วงฮังกะลุง, และวงดนตรีพื้นเมืองอีกมากมาย.
วงพิเศษ คือวงที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ในงานสำคัญ ใชับรรเลงในงานนั้นเพียงครั้งเดียว มี 1 วง คือ วงมหาดุริยางค์



วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องเป่า(ขลุ่ย)

เครื่องเป่า

เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น


ปี่ชวา

ขลุ่ย


ขลุ่ย
ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้


ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้
- เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น - ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้
- รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป
- รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย - รูเยื่อ เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ
- รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
- รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน
- รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ เสียงขลุ่ยเกิดจากเป่าลม และใช้นิ้วมือปิดเปิดรูบังคับเสียง

<>
ภาพแสดงการเป่าขลุ่ย


VDO แสดงการสาธิตการเป่าขลุ่ย
ขอขอบคุณ youtube.com

เครื่องสี(ซออู้)

ซออู้

ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้ว



ส่วนประกอบของซออู้


มีส่วนประกอบ ดังนี้
- กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
- คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
-ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
- รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน
- หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง
- คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม
การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง


VDO แสดงการสาธิตการเล่นซออู้
ขอขอบคุณ youtube.com

เครื่องสี(ซอสามสาย)


ซอสามสาย

ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก






ส่วนประกอบของซอสามสาย


- กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี
- คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด
- ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม
- รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน
- หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ
- ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม
- หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม
- คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น

ภาพแสดงการเล่นซอสามสาย


VDO แสดงการสาธิตการเล่นซอสามสาย
ขอขอบคุณ youtube.com

เครื่องสี(ซอด้วง)

ซอด้วง

ซอด้วงเป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง


ซอด้วง




ส่วนประกอบของซอด้วง

มีส่วนประกอบ ดังนี้
- กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้
- คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง"
- ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก
- รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง
- หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ
- คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี
การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก

ภาพแสดงการเล่น ซอด้วง


เครื่องสี

เครื่องสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ สำหรับประเทศทางตะวันตก เครื่องดนตรีประเภทนี้ได้แก่ ไวโอลินและไวโอลา เป็นต้น

ซอด้วง

ซอสามสาย

ซออู้


เครื่องตี(ระนาด)

ระนาด

ระนาด เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จัดเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องตี ประกอบด้วย ลูกระนาด ร้อยด้วยเชือก เรียกว่า "ผืน" แขวนไว้กับ ราง ซึ่งทำหน้าที่รองรับลูกระนาด (แขวนลอย ไม่ได้วางรายกับราง) และทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงด้วย ผู้เล่นจะใช้ ไม้ตี จำนวน 2 อัน สำหรับตีลูกระนาดให้เกิดเป็นท่วงทำนอง

ชนิดของระนาด

ระนาดเอก 
ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า “ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า “ผืน”
       ลูกระนาดนี้ทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า “โขน” ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง  รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า

ระนาดทุ้ม
เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม  กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ยๆรองไว้ 4 มุมราง

ระนาดเอกเหล็ก หรือ ระนาดทอง

ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันว่าระนาดทอง ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์ลูกระนาดด้วยเหล็ก ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้

ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็กเป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน 16 หรือ 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ  6 ซมและลดหลั่นลงไปจนถึงลูกยอดซึ่งยาวประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ 20 ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบนประมาณ 26 ซมระนาด ทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี 2 อัน
         สำหรับระนาดเอกทำไม้ตีเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำหัวไม้ตีให้แข็ง เมื่อตีจะมีเสียงดังเกรียวกราว เมื่อนำเข้าผสมวงจะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้แข็ง” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐ์ไม้ตีให้อ่อนนุ่ม เมื่อตีจะเกิด เสียงนุ่มนวล เวลานำระนาดเอกที่ใช้ไม้ตีชนิดนี้มาผสมวง จะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้นวม”



ภาพแสดงส่วนประกอบของระนาดทุ้ม

ภาพแสดงลักษณะการเล่น ระนาด

VDO แสดงการสาธิตการเล่นระนาดเอก
ขอขอบคุณ youtube.com


เครื่องตี(ฆ้อง)

ฆ้อง

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหลายขนาดและประเภท บางชนิดเป็นเพียงเครื่องตีให้สัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเข้าเวรยาม, ฆ้องชัย ใช้ตีบอกสัญญาณในกองทัพสมัยโบราณ เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า โหม่ง

ฆ้องโหม่ง   
เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยโลหะหรือเรียกว่าโหม่งก็ได้ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ รองลงมาจากฆ้องหุ่ย ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี

ฆ้องเหม่ง มีรูปร่างเหมือนกับฆ้องโหม่ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้ตีกำกับจังหวะ ขนาดเล็กกว่า ฆ้องโหม่ง ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี
ฆ้องคู่   เป็นฆ้องที่มี 2ใบมีขนาดเล็ก เสียงต่ำใบหนึ่ง เสียงสูงใบหนึ่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ ชุดหนึ่งมีสองลูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ ลูกเล็กให้เสียงสูง ไม้ตีทำด้วย แผ่นหนังวัว หรื ใบหนังควายตัดเป็นวงกลม เจาะรูตรงกลางใส่ก้านไม้
ฆ้องมโหรี    เป็นฆ้องวงที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีโดยเฉพาะ มีอยู่สองขนาด คือฆ้องวงใหญ่มโหรีและฆ้องวงเล็กมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรีเดิมมีลูกฆ้อง ๑๗ ลูก ต่อมานิยมใช้ ๑๘  ลูก
ฆ้องมอญ เป็นเครื่องดนตรีของชาวรามัญ มีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบกับพื้นเหมือนกับฆ้องวงใหญ่
ฆ้องราง   
เป็นฆ้องที่มีลักษณะเหมือนฆ้องคู่ ใช้ตีดำเนินทำนอง ชุดหนึ่งมี ๗-๘ ลูก เสียงลูกที่ ๑ กับลูกที่ ๘ เป็นเสียงเดียวกัน แต่ต่างระดับเสียง ปัจจุบันไม่มีการใช้ในวงดนตรีไทย
ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราง จนกระทั่งเป็นฆ้องวง สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะของฆ้องวงประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง
ฆ้องวงเล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรเลงคู่กับฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็กมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับฆ้องวงใหญ่
ฆ้องราว เป็นฆ้อง 3 ใบมีขนาดลดหลั่นกันใช้แขวนราวเรียง ไปตามขนาด เมื่อตีเรียงไปตามลำดับลูกแล้วย้อนกลับไปจะได้ยินเป็นเสียง "โหม่ง-โมง-โม้ง , โม้ง-โมง-โหม่ง" แต่แรกคิดจะสร้างใช้ในการใดหาทราบไม่ แต่ตามที่ปรากฎต่อมาใช้บรรเลงในการเล่นมหรสพโบราณชนิดหนึ่งเรียกว่า "ระเบง" หรือเรียกตามคำร้องของกลอน ซึ่งขึ้นต้นวรรคด้วย คำว่า "โอ้ละพ่อ" เลยเรียกฆ้องราว 3 ใบชนิดนี้ว่า "ฆ้องระเบง" ติดมา

ภาพแสดงการเล่นฆ้องวง

 
VDO แสดงการสาธิตการเล่นฆ้องวง
ขอขอบคุณ youtube.com